วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556

การทำจรวจขวดน้ำ

 

จรวจขวดน้ำการ ทำ

       

 

 จรวดขวดน้ำ  คือ ขวดพลาสติกน้ำอัดลมทั่วๆไปในท้องตลาดซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้แล้ว นำมาประดิษฐ์เป็นจรวดขวดน้ำรูปแบบต่างๆ ซึ่งขวดน้ำอัดลมนี้เป็นขวดพลาสติกทีทำมาจาก สารประกอบทางเคมีที่มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Polyethyleneterephthalate (PET) โดยใช้แรงขับเคลื่อนด้วยน้ำหรือแป้งจากแรงดันอากาศที่ถูกอัดเข้าไปภายในตัวจรวด

วิธีการประดิษฐ์

1.    เตรียมอุปกรณ์ได้แก่ ขวดน้ำอัดลมขนาด 1 ลิตร จำนวน 2 ขวด เทปกาว กรรไกรหรือคัดเตอร์ แผ่นพลาสติกหรือฟิวเจอร์บอร์ด นอกจากนี้อาจใช้ดินน้ำมันหรือกระดาษหนังสือพิมพ์เพื่อถ่วงหัวจรวดให้หนักขึ้น และปากกาเคมีเพื่อทำเครื่องหมายบริเวณที่จะตัด อาจจะเตรียมไม้รองตัดด้วยก็ได้

2.   ใช้ปากกาเคมีขีดตำแหน่งที่จะตัดบนขวดพลาสติกขวดที่หนึ่ง เพื่อจะใช้ทำหัวจรวดและส่วนที่เรียกว่ากระโปรงจรวดใช้ในการติดครีบ(FIN) ตามรูป โดยอาจจะตัดตามรอยส่วนบนและล่างของขวดตามรูปทรงขวดก็ได้

3.    นำส่วนหัวของขวดแรก(หมายเลข 1-1)มาสวมด้านท้ายของขวดใบที่ 2 เพื่อทำเป็นหัวจรวด อาจจะถ่วงให้หนักโดยใช้ดินน้ำมันอัดลงในส่วนหัวก็ได้ แล้วพันติดด้วยกันด้วยเทปกาวให้แน่นหนา

4.   ส่วนอีกด้านให้ต่อทางด้านปากขวดเพื่อทำเป็นกระโปรงและติดครีบด้วยเทปกาว

5 . ตกแต่งให้สวยงามตามต้องการ วิธีการอาจจะมีการดัดแปลงตกแต่งเพิ่มเติมเพื่อผลของการยิงก็ได้ เพราะสิ่งที่จะเกี่ยวข้องกับการยิงก็จะเกี่ยวข้องกับรูปร่างของจรวดน้ำ น้ำหนัก ครีบ หรืออาจะเป็นแรงต้านของอากาศ

6.  เติมน้ำและติดตั้งเข้ากับฐานยิง โดยสูบลมให้มีความดันที่ 50 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ซึ่งเป็นความดันที่ทำให้ยิงได้ไกลมากสำหรับการยิงที่สนามของโรงเรียน


การติดปีก


    รูปแบบปีก ส่วนใหญ่จะเรียนแบบจรวดจริง

หรือทดลองหลายๆ แบบก็ได้ แบไหนดี

ก็ใช้แบบนั้น ส่วนการติดก็มีหลายแบบ

ในภาพเป็นแบบ พับซ้าย พักขวา ให้แนบกับลำตัว

แล้วหยอกกาวแห้งไวพอประมาณ โรยด้วยแป้ง

ข้อควรระมัดระวัง

    เนื่องจากกิจกรรมจรวดขวดน้ำมีอันตรายอันเนื่องมาจากต้องใช้ความดันสูง และการตกลงสู่พื้นของ จรวดอาจเป็นอันตรายได้ ควรพึงระมัดระวัง ดังนี้

1. สถานที่ดำเนินกิจกรรมต้องอยู่ในที่โล่งแจ้ง ไม่มีกลุ่มคนสัญจรไปมา เช่น สนามฟุตบอล

2. วัสดุที่ใช้ทำจรวดขวดน้ำ ต้องทำการการทดสอบแรงดันให้ทราบค่าที่แน่นอนก่อน เพื่อความ ปลอดภัย เช่น ขวดน้ำอัดลม (ขวด PET) สามารถทนแรงดันได้ประมาณ 12 บาร์

3. ขณะดำเนินกิจกรรม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น เช่น หมวกป้องกันศีรษะ แว่นตา และเสื้อกันฝน

4. ก่อนทำการปล่อยจรวดขวดน้ำ ต้องตรวจสอบก่อนทุกครั้งว่ามีคนอยู่ในพื้นที่ที่อาจเป็นอันตราย หรือไม่ และทิศทางการพุ่งไปของจรวดต้องไม่มีกลุ่มคน

5. ถ้าผู้ดำเนินกิจกรรมเป็นเด็ก ต้องมีผู้ใหญ่คอยให้คำแนะนำ และดูแลเสมอ


ประโยชน์ของกิจกรรมจรวดขวดน้ำ

1. เพิ่มความหลากหลายของกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์

2. ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ให้กับผู้ที่ทำกิจกรรม

3. สร้างสรรค์กิจกรรมเวลาว่างนักเรียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด

4. มีกิจกรรมที่สอดแทรกความรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้าไปในการทำกิจกรรม

การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านกิจกรรมจรวดขวดน้ำ

        จรวดน้ำ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่จัดทำขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้กระบวนทางวิทยาศาสตร์และทักษะทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนสามารถสร้างความตระหนักเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียนได้อีกวิธีหนึ่งโดยผ่านการลงมือปฏิบัติจริง


ที่มาและความสำคัญ 

         การวิจัยเกี่ยวกับ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ให้สอดคล้องกับหลักสูตรใหม่ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การแข่งขันจรวดขวดน้ำเป็นที่แพร่หลายในวงการวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาได้มีการจัดการแข่งขันในหลายโรงเรียนทั้งระดับภาค ถึงระดับประเทศผู้จัดทำโครงการเล็งเห็นความสำคัญในการจัดโครงการนี้ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเกิดประโยชน์มากมายในด้านนักเรียนและการสอนของครูและเพื่อเป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องทุกปี

วัตถุประสงค์

  •  เพื่อค้นหาเทคนิควิธีที่ทำให้จรวดขวดน้ำเคลื่อนที่ไปได้ไกลที่สุด

  •  เพื่อส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ในการประดิษฐ์     
    จรวดขวดน้ำในรูปแบบต่างๆ

  • เพื่อสนับสนุนการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์อย่างมี
    คุณค่า

  • เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ ความสนุกจารการเรียนรู้

  • เพื่อต้องการให้เกิดการพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์
    และเทคโนโลยีใหม่

  • รู้จักการประยุกต์ใช้สิ่งของที่เหลือใช้ให้เป็นประโยชน์

  • เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้เล่นและใกล้เคียงให้
    มากที่สุด

  • เพื่อให้รู้จักสามัคคีในคณะ และเป็นมิตรกับเพื่อนๆ ที่
    เข้าร่วมแข่งขัน

  • เพื่อให้รู้จักแก้ไขปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ได้อย่างมีเหตุผล
    และถูกวิธี


  •  หลักการและทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ 

                   การพุ่งขึ้นของจรวดขวดน้ำอาศัยกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน ข้อที่3 ที่กล่าวไว้ว่า “ แรงกริยาเท่ากับแรงปฏิกิริยา แต่มีทิศทางตรงกันข้าม “

                    เมื่อเราเติมน้ำ และอัดอากาศเข้าไปในขวด  อากาศที่ถูกอัดอยู่ภายในจรวดขวดน้ำ จะทำหน้าที่เหมือนเป็นสปริงที่จะดันให้จรวดลอยสูงขึ้นไป และดันน้ำให้พุ่งออกทางปากขวด  การที่เราเติมน้ำลงไปในจรวดขวดน้ำทั้งๆที่ดูเหมือนว่าเราอาศัยเพียงแรงผลักของอากาศทำให้จรวดขวดน้ำพุ่งขึ้นไปได้ เป็นเพราะในขณะที่อากาศผลักให้จรวดขวดน้ำพุ่งขึ้นไป จรวดขวดน้ำก็จะผลักให้อากาศพุ่งถอยหลังไปเช่นกัน (ตามกฎข้อที่ 3 ของนิวตัน)แต่มวลของจรวดมีมากกว่ามวลของอากาศมาก ทำให้อากาศมีความเร่งมากกว่าความเร่งมากกว่าจรวดมาก (พิจารณาตามกฎข้อที่ 2 ของนิวตัน) ทำให้อากาศพุ่งออกไปจากจรวดขวดน้ำหมดก่อนที่จรวดขวดน้ำจะพุ่งขึ้นไปได้สูง น้ำที่เราเติมลงไปนั้น จะช่วยชะลอเวลาที่อากาศใช้ในการพุ่งออกจากจรวดขวดน้ำ เพราะจรวดขวดน้ำต้องผลักให้น้ำภายในจรวดขวดน้ำพุ่งออกไปด้วย ทำให้ความเร็วของจรวดสูงกว่าตอนที่ไม่ได้เติมน้ำลงไปในจรวดขวดน้ำนี้

                    แต่ปริมาณน้ำที่เพิ่มมากขึ้นก็จะทำให้แรงผลักของอากาศลดลง และความดันภายในจรวดก็จะลดลงรวดเร็วมากขึ้น ดังนั้น เราต้องมีอัตราส่วนของการเติมน้ำอย่างเหมาะสม เพื่อทำให้จรวดขวดน้ำพุ่งออกไปได้ไกลที่สุด

      

            การแข่งขันจรวดขวดน้ำเริ่มมีขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อปีพ.ศ.2546 โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมพัฒนาให้เด็กๆได้ใช้ความรู้ในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาผสมผสานกับจินตนาการ แล้วนำมาประยุกต์ใช้ผ่านกิจกรรมการแข่งขันจรวดขวดน้ำ นอกจากจะเป็นกิจกรรมที่สนุกสนานแล้วยังเป็นกิจกรรมที่ชวนให้เกิดการเรียนรู้ในสาระอื่นๆที่เกี่ยวข้องอีกมาก จึงง่ายที่เยาวชนจะให้ความสนใจอย่างแพร่หลาย ปัจจุบันมีหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน บุคคลทั่วไป นักเรียน นักศึกษาให้ความสนใจในกิจกรรมนี้มากขึ้น ทำให้มีการจัดแข่งขันจรวดขวดน้ำในหลายระดับ รวมถึงระดับประเทศที่องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจัดเป็นประจำทุกๆ ปีขอขอบคุณแหล่งที่มา

    1 ความคิดเห็น: